วอลเปเปอร์แบบไหนเหมาะกับห้องพระ

หากจะพูดถึงห้องที่สามารถเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคนในบ้านได้ และมีความสำคัญเป็นอย่างมากห้องหนึ่งของบ้านและแทบจะขาดเสียไม่ได้เลยนั่นก็คือห้องพระ  และในเกือบทุกบ้านก็ย่อมมีห้องพระกันอย่างแน่นอน  แต่ก็มักจะเกิดปัญหาในเรื่องของการตกแต่งห้องพระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกแบบและสีของผนังห้องพระว่าจะเลือกอย่างไรให้เหมาะสม โดยในปัจจุบันได้มีการผลิตวอลเปเปอร์ลายไทยที่เหมาะในการติดผนังภายในห้องพระออกมาจำหน่ายมากมายหลากหลายแบบ ซึ่งหากคุณมีความต้องการตกแต่งผนังห้องพระแบบประหยัด ติดตั้งง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในคอนโด หรือ บ้านที่มีพื้นที่จำกัด และมีความสวยงามแล้วล่ะก็ร้านวอลเปเปอร์ภูเก็ต ภูเก็ตโมเดิร์นเคอร์เท่น มีคำแนะนำ สำหรับวอลเปเปอร์ลายไทยที่เหมาะสำหรับการติดในห้องพระมาฝากกัน

  1. ลายเทพพนม เป็นวอลเปเปอร์ลายไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะท่านที่ต้องการแต่งห้องพระด้วยแล้ว น่าจะยิ่งชอบลายนี้มาก เพราะเป็นลวดลายที่บ่งบอกได้ถึงความเป็นห้องพระได้เป็นอย่างดีนั่นเอง ดังนั้นส่วนใหญ่เวลาที่มีผู้ต้องการตกแต่งห้องพระจึงมักใช้ลายเทพพนมกันเสียเป็นส่วนใหญ่
  2. ลายดอกพุดตาน ดอกพุดตานเป็นลายไทยที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 – 3 โดยเจ้าดอกพุดตานนี้เป็นดอกไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน หลังจากนั้นช่างฝีมือชาวไทยในยุคนั้นก็ได้ทำการสร้างลายโดยใช้เจ้าดอกพุดตานเป็นแบบในการสร้างและออกมาเป็นลายไทยดอกพุดตานแบบไทยๆ
  3. ลายปิดทองหรือลายปิดทองหลังพระ วอลเปเปอร์ลายนี้เป็นการจำลองลวดลายที่เกิดขึ้นจากการปิดทองหลังพระ โดยกระดาษที่เรานำไปปิดทองนั้น จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมโดยเวลาปิดทองที่พระแล้วรวมกันเยอะก็ออกมามาเป็นลวดลายสวยงาม และที่เป็นที่มาของวอลเปเปอร์ลายปิดทอง
  4. ลายประจำยาม ก็เป็นอีกหนึ่งวอลเปเปอร์ลายไทยที่ได้รับความนิยมเช่นกัน เป็นลวดลายที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนไทยที่นำเอากระจังมาผูกต่อๆ กันเป็นแนวยาว
  5. ลายประเพณีไทย เป็นวอลเปเปอร์ลายไทยที่นำเอาประเพณีต่างๆ ของไทยมาจำลองแล้วสร้างเป็นลวดลายขึ้นมา ซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน

สำหรับในห้องพระนั้น คุณสามารถนำวอลเปเปอร์ลายไทยมากกว่า 1 ลายมาตกแต่งได้ก็จะทำให้ห้องพระภายในบ้านของคุณสวยงามได้ไม่แพ้กันหรือคุณจะเลือกใช้ลายกลุ่มอื่นๆ มาช่วยเสริมแต่งก็สามารถทำได้เช่นกันเพียงแต่อาจจะต้องเลือกเป็นลายและสีเรียบๆเพื่อให้เหมาะกับกาลละเทศะนั่นเอง

 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top